วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

การวัดและการประมวลผล


การวัดและการประมวลผล

ขนาดความจุ                
                บิต (Bit) Binary Digit เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูลที่ใช้อยู่ในคอมพิวเตอร์                
                ไบต์ (Byte) ตัวเลขจำนวน 8 บิต จะรวมกันเข้าเป็น 1 ไบต์                
                 กิโลไบต์ (Kilobyte) ใช้ย่อว่า KB โดย 1 KB มีค่าเท่ากับ 1,024 ไบต์               
                 เมกะไบต์ (Megabyte) ใช้ย่อว่า MB โดย 1 MB มีค่าเท่ากับ 1,048,576 หรือ (1,024 x 1,024 ) มักใช้ในการวัดหน่วยความจำหลัก (RAM)                
                 กิกะไบต์ (Gigabyte)  ใช้ย่อว่า GB โดย 1 GB มีค่าเท่ากับ 1,073,741,824 หรือ (1,024  x 1,024 x 1,024)                
                 เทราไบต์ (Terabyte) ใช้ย่อว่า TB โดย 1 เทราไบต์จะเท่ากับ 1,099,511,627,776 หรือ (1024 x 1024 x 1024 x 1024) บิต(Bit) Bin 
เวลา                
                 มิลลิเซกันด์ (Millisecond) หรือ 1 ส่วนพันวินาที ใช้วัดเวลาเฉลี่ยในการเข้าถึงข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ (Access Time)                
                 ไมโครเซกันด์ (Microsecond) หรือ 1 ส่วนล้านวินาที                
                 นาโนเซกันด์ (Nanosecond) หรือ 1 ส่วนพันล้านวินาที ใช้วัดความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลใน
หน่วยความจำหลัก                
                 พิโคเซกันด์ (Picosecond) หรือ 1 ส่วนล้านล้านวินาที มักใช้วัดรอบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ๆ
ความเร็ว                
                 เฮิรตซ์ (Hz : Hertz) หรือ รอบต่อวินาที มักใช้ในการวัดรอบการทำงานของนาฬิกาของ Processor หรือความเร็วของBus                
                 มิปส์ (MIPS : Millions of Instructions Per Second) มักใช้วัดความเร็วในการประมวลผลเครื่องคอมพิวเตอร์  (คำสั่งต่อวินาที)
 หน่วยความจำ                
                 ROM มีโครงสร้างภายในอยู่ 2 ประเภทคือ                
                 1. Transistor (หรือ Bipolar)  มีความเร็วในการเข้าถึง(R/W) สูงมาก แต่มีความจุน้อย เนื่องจากมีโครงสร้างที่ซับซ้อนมาก                
                 2. MOSFET (หรือ Unipolar)
ชนิดของหน่วยความจำ                 
                 1. Nonvolatile Memory คือ หน่วยความจำที่ข้อมูลไม่ถูกลบหรือไม่หายไปเมื่อไม่มีไฟเลี้ยง                
                 2. Volatile Memory คือ หน่วยความจำที่ข้อมูลจะถูกลบหรือหายไปเมื่อไม่มีไฟเลี้ยง 
1. Nonvolatile Memory     เป็นหน่วยความจำถาวร ซึ่งข้อมูลหรือโปรแกรมที่เก็บอยู่นั้นจะคงอยู่ตลอดไปไม่สูญหายแม้ปิดเครื่องหรือไฟดับ แบ่งได้เป็นหลายชนิดคือ                
                   1. ROM (Read Only Memory)  เป็นหน่วยความจำที่ถูกบรรจุข้อมูลหรือโปรแกรมมาเรียบร้อยจากโรงงาน               
                   2. PROM (Programmable Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำชนิดที่ผู้ซื้อหรือผู้ใช้สามารถบรรจุข้อมูลได้เองเพียงครั้งเดียว โดยใช้เครื่องมือพิเศษที่เรียกว่า ROM Writer ภายหลังที่ถูกบรรจุข้อมูลแล้ว PROM จะกลายเป็น ROM                 
                   3. EPROM (Erasable Programmable Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำทีเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถทำการบรรจุข้อมูลใหม่ได้หลายครั้ง  โดยก่อนจะบรรจุข้อมูลใหม่ต้องลบข้อมูลเก่าก่อนโดยใช้แสง Ultraviolet  ฉายผ่านทางช่องกระจก                
                   4. EAPROM (Electrically Alterable Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่เป็นโอกาสให้ผู้ซื้อหรือผู้ใช้สามารถทำการบรรจุข้อมูลใหม่ได้หลายครั้ง โดยก่อนจะบรรจุข้อมูลใหม่ต้องลบข้อมูลเก่าก่อนโดยใช้กระแสไฟฟ้า เราสามารถเรียกหน่วยความจำได้อีกอย่างว่า Firmware 
2.Volatile Memory    เป็นหน่วยความจำที่ข้อมูลสูญหายได้ คือหน่วยความจำที่ข้อมูลจะถูกลบหรือหายไปเมื่อไม่มีไฟเลี้ยง หรือเราเรียกว่า RAM  ซึ่งสามารถแบ่งเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ดังนี้               
                   1แบบสแตติก ( Static )  หรือ SRAM ซึ่งมี 2 โครงสร้างคือ Bipolar และ Unipolar  มักใช้เป็นหน่วยความจำแคช (Cache) 
                         ข้อดี        - สะดวกต่อการนำไปประยุกต์ใช้งาน และมีความเร็วสูง                  
                                         - ดูแลรักษาได้ง่าย                   
                                         - ไม่ต้องมีวงจรสนับสนุนมาก เช่น วงจรRefresh                   
                                         - ประหยัดเนื้อที่และเวลาในการออกแบบ  
                        ข้อเสีย    - บรรจุข้อมูลได้น้อยกว่าเมื่อเทียบกับแบบDynamic                  
                                         ราคาแพง และกินไฟมาก
ความเร็วของ RAM คิดกันอย่างไร                 
                       ที่ตัว Memory chip จะมี เลขรหัส เช่น HM411000 -70                 
                       ตัวเลขหลัง (-) คือ ตัวเลขที่บอก ความเร็วของ RAMตัวเลขนี้ เรียกว่า Access time คือ เวลาที่เสียไป ในการที่จะเข้าถึงข้อมูล หรือ เวลาที่แสดงว่า ข้อมูลจะถูก ส่งออกไปทาง Data busได้เร็วแค่ไหน ยิ่ง Access time น้อย ๆ แสดงว่า RAM ตัวนั้น เร็วมาก

ที่มา : http://iam.hunsa.com/hlubkuv/article/26747

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น